ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกคน

 

%e0%b8%99%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b8%b5-1

ยินดีต้อนรับนักเรียนที่น่ารักทุกคน เข้าสู่เวปไซต์เพื่อศึกษาค้นคว้าความรู้

ในวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ ( IS2 )

ตั้งใจศึกษา ค้นคว้า หาความรู้กันนะคะ

นักเรียนสามารถสอบถามข้อสงสัยต่างๆผ่านทางช่อง comment หลังจากที่เรียน

โดยใส่ “ชื่อ และ ชั้นเรียน” เพื่อรายงานตัวกับครูนะคะ
คุณครูกอบแก้ว ตะนะพันธุ์
โรงเรียน ธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม

.

58 thoughts on “ยินดีต้อนรับนักเรียนทุกคน

  1. ความสำคัญและที่มาของหญ้าหวานและกระเจี๊ยบแดงค่ะ ทำวิจัยเรื่อง เอาขนมทองเอก โดยการนำเอาหญ้าหวานและกระเจี๊ยบแดงมาเสริม

  2. ครูครับ ผมอยากให่ครูลองตรวจดูว่าใช่ได่ป่าวครับ
    เรื่อง การสำรวจทัศนคติของนักเรียนในระดับชั้นเดียวกันต่อครูที่ปรึกษา
    นักเรียนในสมัยนี้ไม่ค่อยสนใจในการศึกษา เช่น การเล่นโทรทรัพในห้อง การหยอกล้อกันในห้อง ดังนั้นครูที่ปรีกษาควรให้การตักเตือนและบอกกล่าวเอาไว้ แต่ความคิดของน้กเรียนไม่เป็นเช่นนั้น นักเรียนคิดว่า เป็นการต่อว่าที่ทำตัวไม่ดี และเป็นการทำโทษ และอีกอย่างในการให้คำบอกกล่าวของครูที่ปรึกษา ใช่ วิธีผิดๆ เช่น การลงโทษโดยใช้คำหยาบต่อว่า การใช่ไม่กวาดตีที่นักเรียน ซึ่เป้นการกระทำที่ไม่เหมาะสมสำหรับนักเรียน.

    ถ้ายังไงก็ดูให้หน่อยนะครับ

    • การตั้งชื่อเรื่องของหนูควรปรับหน่อยนะคะโดยเฉพาะคำว่าในระดับชั้นเดียวกัน ควรระบุกลุ่มเป้าหมายของเราลงไปเลยว่าระดับชั้นอะไร…เช่น การสำรวจทัศนคติของนักเรียนชั้น…..ที่มีต่อครูที่ปรึกษา สำหรับการเขียนความสำคัญของปัญหานั้นควรเกริ่นนำถึงโรงเรียนว่ามีความสำคัญอย่างไร ประกอบด้วยใครบ้าง แล้วเขียนเน้นมาที่ครูแล้วเขียนบรรยายบทบาทหน้าที่ของครู รวมทั้งบทบาทของการเป็นครูที่ปรึกษาด้วยหลังจากนั้นหนูก็เขียนปัญหาที่หนูพบโดยเฉพาะครูที่ปรึกษา โดยบรรยายให้ละเอียด สอบถามจากเพื่อนๆ ย่อหน้าสุดท้ายจึงสรุปว่าจากปัญหาหรือเหตผลดังกล่าวผู้ศึกษาจึง…… (หนูอยู่รร.ระดับชั้นและโรงเรียนอะไรค่ะ )

      • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครับ คือว่าผมอยากลองทำดูแต่ไม่มีประสบการ์ณเลย ไม่ค่อยรู้เรื้องอะไรซักเท่าไหร่ครับ ช่วยแนะนำด้วยครับ

      • ครูครับดูให้หน่อยนะครับว่า บทคัดย่านี่ถูกต่องรึป่าว ส่วนผลการศึกษาช่วยแนะนำด้วยครับ

        ชื่อเรื่อง การสำรวจความรู้สึกของนักเรียนในระดับชั้นเดียวกันต่อครูผู้สอน(ครูที่ปรึกษา)
        ผู้ศึกษา ด.ช.ณัฐวัฒน์ เลนนาแซง ชั้น ม.2/5 เลขที่ 10
        ด.ญ.ชูติรัตน์ วงษ์นามน ชั้น ม.2/5 เลขที่ 8
        ด.ญ.อารียา เหล่าคนค้า ชั้น ม.2/5เลขที่ 40
        ครูที่ปรึกษา นาง อุษา ชัยอาสา
        ระดับการศึกษา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
        โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา
        รายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ ( Independent Study : IS2)
        ปีการศึกษา 2557

        บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาทัศนคติของนักเรียนในระดับชั้นเดียวกันว่า เมื่อได้เรียน หรือ ถูกสั่งสอนมาจากครูที่ปรึกษา มีความรู้สึกอย่างไร เมื่อทราบแล้วก็สามารถนำเอาผลการสำรวจนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น การทำความเข้าใจกันและกัน การปรับตัวให้เข้ากับครูที่ปรึกษาได้
        10 คนได้มาโดยเลือกมาอย่างง่ายจากเพื่อนร่วมชั้นในห้อง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย บักทึกสมุดจดที่ไว้ใช้ในการจดความคิดของนักเรียนในชั้น และ คอมพิวเตอร์ในการคำนวณหาค่าเฉลี่ย
        วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า
        ผลการศึกษา…………………………………………………………………………………………………………………
        ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

      • การเขียนวัตถุประสงค์ต้อเขียนทำนองเดียวกันกับชื่อเรื่องนะคะ เช่นเพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนชั้น…..ที่มีต่อครูที่ปรึกษา ต้องเติมเพื่อและตามด้วยชื่อเรื่องค่ะ ส่วนรายละเอียดอื่นๆหนูเปิดดูในเว็ปได้เลยคะ

    • หมายถึง ตำรา หนังสือ วารสาร นิตยสาร รายงานการวิจัย บทคัดย่อ การวิจัย ฯลฯ ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับ เรื่องที่เราทำหรือเรื่องที่วิจัย ที่สามารถอ้างอิงได้

  3. สวัสดีค่ะอาจารย์กอบแก้ว
    คือหนูมีเรื่องจะปรึกษาอ่ะค่ะ พอดีหนูทำวิชาis3 และต้องทำ5บท เหมือนกับis2เลย แล้วหนูทำเรื่องเกี่ยวกับโขน หนูเลยใช้ชื่อเรื่องว่า “การเผยแผ่และสืบสานศิลปะโขน” อาจารย์คิดว่าไงค่ะ? ช่วยแนะนำหนูหน่อยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

  4. หนูขอขอบคุณ คุณครูกอบแก้วมากค่ะที่ช่วยให้การทำวิจัยครั้งนี้สำเร็จไปด้วยดี และได้ช่วยสอนให้หนูรู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม ทำให้หนูได้รู้ถึงข้อบกพร่องหลายๆอย่างของหนู และก็ทำให้หนูรู้สึกภูมิใจกับผลงานที่ได้ออกมามากๆค่ะ ถ้ามีโอกาสหนูก็อยากจะเรียนกับอาจารย์อีก
    สุดท้ายนี้หนูก็อยากบอกว่าหนูรักอาจารย์มากๆค่ะ ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงนะคะ

  5. นี่ด้วยค่ะ ลืมไปให้อาจารย์ดูจริงๆ TT

    – ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา –

    ทุกวันนี้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปมากทำให้วิถีชีวิต และพฤติกรรมของคนไทยเปลี่ยนไปต้องฝากท้อง กับอาหารสำเร็จรูป และอาหารด่วนซึ่งส่วนใหญ่มาในรูปอาหารตะวันตก ประเภทสะดวก และรวดเร็ว ทำให้ร้านสะดวกซื้อมีเพิ่มมากขึ้น เพราะซื้อหาได้ทั่วไป ถูกปากคนรุ่นใหม่ ใส่บรรจุภัณฑ์ เก๋ไก๋ พกพาสะดวก คำว่า “Junk Food” เป็นศัพท์แสลงของอาหารที่มีสารอาหารจำกัดหรือที่เรียกว่า “อาหารขยะ” หมายถึง อาหารที่ให้ประโยชน์ทางโภชนาการน้อย และถ้ากินมากหรือกินประจำจะเป็นโทษต่อร่างกาย อาหารขยะส่วนใหญ่ประกอบด้วย น้ำตาล ไขมัน และแป้ง แต่มีส่วนประกอบของโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่น้อยมาก เช่น ลูกอม น้ำอัดลม อาหารจานด่วนบางชนิด ขนมขบเคี้ยว บะหมี่ซอง อาหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นแป้งที่ขัดสีเอาเส้นใยและวิตามินออกหมด ใช้น้ำตาลที่ผ่านการฟอกขาว แล้วเติมด้วยสารแต่งสี/กลิ่น ผงชูรส ตามด้วยกระบวนการทอด เป็นต้น ถ้าเราต้องการเลือกบริโภคอาหารให้ได้คุณประโยชน์มากๆความเลือกอาหารที่สารอาหารครบ 5 หมู่ และดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้ว จะช่วยดำรงส่งเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงของการเกิดโรค และถ้าเป็นคนป่วยก็จะป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนที่จะตามมาหรือทำให้สุขภาพดีขึ้น ได้ประโยชน์มากขึ้นกว่าผู้ที่ ไม่ได้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
    ถ้าเราเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากๆ จะสามารถช่วยในการต้านทานโรคภัยต่างๆได้ มีหุ่นที่สวย ร่างกายที่สมส่วน ไม่อ้วนเกินไปไม่ผอมเกินไปและจะทำให้คนเรามีอายุที่ยืนยาวยืนนาน แก่ชราไปก็จะมีสภาพร่างกายที่แข็งแรง กว่าคนทั่วไปที่รับประทานแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์ ส่วนผลทางด้านอารมณ์และสติปัญญาการกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังทำให้มีอารมณ์ดี มีความสามารถในการใช้สมองได้ดี การเจริญเติบโตของสมองและสติปัญญา เด็กวัยก่อนเรียนมากมายในประเทศไทย มีภาวะบกพร่องในการขาดสารอาหารประเภทโปรตีนและแคลอรี่ มีผลทำให้การเจริญเติบโตของเด็กหยุดชะงัก ทางด้านร่างกายเช่น มีขนาดตัวเล็กกว่า มีสมองเล็กกว่า ทางด้านจิตใจและสติปัญญาเช่น มีความเข้าใจช้า ขาดความกระตือรือร้น ขาดความคิดริเริ่ม ขาดความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะต่างๆเช่น มือและตา คุณภาพในการทำงาน ผู้ที่ได้รับอาหารย่อมมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ทำให้มีความอดทนในการทำงานมากกว่าผู้ที่ได้รับอาหารที่ไม่ดี
    ความเจริญก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม ทำให้ค่านิยมการบริโภคอาหารมีมากขึ้น มีทั้งค่านิยมที่ทั้งดีและไม่ดี ค่านิยมมีมากทำให้การบริโภคอาหารในแต่ละมื้อที่โรงเรียนมีปริมาณมากเพิ่มขึ้นตามความอยากบริโภคในแต่ละมื้อของนักเรียน บางมื้อไม่ทานข้าว ก็จะทานก๋วยเตี๋ยว นมเนย ขนมปัง บางทีทานข้าวเสร็จนักเรียนก็จะตามด้วยอาหารหวาน ที่บางครั้งรับประทานเข้าไปมากไปก็อาจจะทำให้เกินกับปริมาณอาหารที่ต้องการได้ ทำให้เกิดภาวะโรคอ้วน หรือไขมันอุดตัดให้เส้นเลือดก็เป็นได้
    จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยชี้เล่งเห็นว่าการทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาภาวะโรคอ้วน และภาวะร่างกายไม่สมส่วนกับวัยอันควร โดยการใช้งานวิจัยชิ้นนี้เป็นแนวทางในการบริโภคอาหารที่จำเป็นในแต่ละวัน และสามารถเลือกรับประทานที่มีประโยชน์ได้

  6. อาจารย์ค่ะ ใช้ได้รึเปล่าค่ะดูให้หน่อย

    แบบสอบถามเรื่อง ค่านิยมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

    1. นักเรียนดื่มน้ำอัดลม
    2. นักเรียนกินเครื่องในสัตว์ เช่นตับ หัวใจ ไส้หมู
    3. นักเรียนกินขนมหวาน
    4. นักเรียนดื่มนม
    5. นักเรียนกินอาหารที่มีรสจัด
    6. นักเรียนกินอาหารที่มีเส้นใยและกากอาหารมาก เช่น ผัก ผลไม้
    7. นักเรียนรับประทานอาหารประเภท ฟาดฟู้ด
    8. ในการเลือกกินอาหารนักเรียนคำนึงถึงการได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่
    9. นักเรียนดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว
    10. นักเรียนกินอาหารตรงเวลาทุกมื้อ

  7. อ.กอบแก้วคะ ในบทคัดย่อตรงที่มันให้เติมว่า “ประเภทเครื่องมือที่ใช้” กับ “ประเภทและสถิติ”ทำยังไงคะ จะเขียนคำว่าอะไรลงไปดี แล้วสถิติต้องเขียนยังไงคะ

    • เครื่องมือที่เราทำการศึกษา มีเฉพาะ แบบสอบถามเท่านั้น สำหรับสถิติคิดค่าเป็นร้อยละ
      ตอนนี้ดูในบทที่ 3 และ 4 ได้นะ การศึกษาในรายวิชา is 2 เราเรียนรู้เฉพาะกระบวนการเท่านั้น การวิจัยจริงๆ ยากกว่านี้มากคะ

  8. อาจารย์ค่ะช่วยดูกิตติกรรมประกาศให้หนูหน่อยนะค่ะว่าใช้ได้ไหม
    กิตติกรรมประกาศ
    การศึกษาครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เพราะได้รับความกรุณาแนะนำ ช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก คุณครูกอบแก้ว ตะนะพันธุ์ ครูที่ปรึกษารายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ ( is2 ) ซึ่งผู้ศึกษารู้สึกซาบซึ้งและเป็นพระคุณอย่างยิ่ง จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
    ผู้ศึกษาขอขอบพระคุณ คณะครูผู้สอน โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคมทุกท่านที่ได้กรุณาให้ผู้ศึกษาได้ทำการแจกแบบสอบถาม ทำให้งานวิจัยฉบับนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
    สุดท้ายขอขอบคุณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ทำให้การศึกษาครั้งนี้สำเร็จในเวลาอันรวดเร็วและขอขอบคุณผู้ให้ความช่วยเหลืออีกหลายท่าน ซึ่งไม่สามารถกล่าวนามในที่นี้ได้หมด

    คณะผู้ศึกษา
    กุมภาพันธ์ 2556

  9. แบบสอบถามค่ะอยากให้อาจารย์กอบแก้วพิจารณา
    แบบสอบถาม

    เรื่อง การใช้คำหยาบของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
    **************************************
    วัตถุประสงค์: แบบสอบถามฉบับนี้จัดทำขึ้น เพื่อศึกษาสาเหตุ แนวทางแก้ไขปัญหาการใช้คำหยาบของนักเรียนและเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ ( is 2 ) ระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
    คำชี้แจงโปรดเขียนเครื่องหมาย ü ลงในช่องว่างหรือเติมข้อความตามความคิดเห็นหรือตรงตามความเป็นจริง
    ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
    1. เพศ หญิง ชาย
    2. อายุ……………ปี ชั้น……………/ ……………
    ตอนที่ 2 แบบสอบถาม พฤติกรรมการใช้คำหยาบและความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการใช้คำหยาบของนักเรียน
    พฤติกรรมการใช้คำหยาบ มากที่สุด (5) มาก(4) ปานกลาง(3) น้อย(2) น้อยที่สุด(1)
    1. ท่านใช้ภาษาที่สุภาพกับบุคคลทั่วไป
    2. ท่านรับชมแต่ ภาพยนตร์/การ์ตูน/ละครโทรทัศน์/หนังสั้น หรืออ่าน หนังสือพิมพ์/หนังสือการ์ตูน/สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่มีการใช้ภาษาสุภาพ อ่อนหวาน เท่านั้น
    3. ท่านใช้ภาษาที่สุภาพกับเพื่อน
    4. .ปกติคนรอบข้าง คนรู้จัก คนรอบตัวท่านใช้แต่ภาษาที่สุภาพ
    5. ท่านไม่เคยต่อว่าผู้อื่นด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพ
    6. ท่านคิดว่ามีแนวทางที่จะทำให้การใช้ภาษาสุภาพมีมากขึ้นในโรงเรียน

    7. ท่านเห็นด้วยหากทางโรงเรียน มีวันงดการใช้คำหยาบเกิดขึ้น 1 วัน
    8. ผู้ปกครองของท่านห้ามไม่ให้ท่านใช้คำที่ไม่สุภาพ
    9. ท่านต้องการให้คุณครู/ผู้ปกครอง/ญาติ ชื่นชมท่านที่ใช้วาจาที่ไพเราะ อ่อนหวาน เพื่อจะยึดเป็นแนวปฏิบัติต่อไป

    10. ท่านเคยกล่าวตักเตือนเพื่อนที่ใช้ภาษาที่ไม่สุภาพเพราะปรารถนาดี
    11. ท่านเห็นด้วยหากมีกิจกรรม ให้นักเรียนทุกคนมาพูดเรื่องการใช้ภาษาสุภาพในโรงเรียน โดยมีรางวัลให้คนที่พูดถูกใจคณะกรรมการมากที่สุด

    ข้อเสนอแนะ
    ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

    • ข้อ1-5 ควรปรับปรุงคำถาม ใหม่ และเพิ่มเติมวิธีการแก้ไขปัญหา คือ ถามคำถามที่ทำให้นักเรียนมีการพูดคำหยาบน้อยที่สุด เพื่อศึกษาว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของเรามากน้อยแค่ไหน

      • คำถาม 1-10 ค่ะ
        1. ท่านเห็นด้วยกับการเซนเซอร์คำหยาบหรือคำ สบถในสื่อโทรทัศน์
        2. ท่านไม่เห็นด้วยกับการรับชมแต่ ภาพยนตร์/การ์ตูน/ละครโทรทัศน์/หนังสั้น หรืออ่าน หนังสือพิมพ์/หนังสือการ์ตูน/สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่มีการใช้ภาษาหยาบคาย
        3. ท่านพร้อมที่จะทำตามคำตักเตือนของคุณครูในเรื่องการใช้คำพูด
        4. ท่านคิดว่าการปลูกฝังการใช้ภาษาที่สุภาพนั้นต้องเริ่มมาจากครอบครัว
        5. ท่านคิดว่ามีแนวทางที่จะทำให้การใช้ภาษาสุภาพมีมากขึ้นในโรงเรียน
        6. ท่านเห็นด้วยหากทางโรงเรียน มีวันงดการใช้คำหยาบเกิดขึ้น 1 วัน
        7. ผู้ปกครองของท่านห้ามไม่ให้ท่านใช้คำที่ไม่สุภาพ
        8. ท่านต้องการให้คุณครู/ผู้ปกครอง/ญาติ ชื่นชมท่านที่ใช้วาจาที่ไพเราะ อ่อนหวาน เพื่อจะยึดเป็นแนวปฏิบัติต่อไป
        9. ท่านเคยกล่าวตักเตือนเพื่อนที่ใช้ภาษาที่ไม่สุภาพเพราะปรารถนาดี
        10. ท่านเห็นด้วยหากมีกิจกรรม ให้นักเรียนทุกคนมาพูดเรื่องการใช้ภาษาสุภาพในโรงเรียน โดยมีรางวัลให้คนที่พูดถูกใจคณะกรรมการมากที่สุด

  10. แบบสอบถาม
    เรื่อง ทัศนคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ต่อรายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ(IS2)
    *****************************************
    วัตถุประสงค์ แบบสอบถามฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาทัศนคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ต่อรายวิชา การสื่อสารและ
    กานำเสนอ (IS2) และเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2)
    คำชี้แจง โปรดเขียนเครื่องหมาย / ลงในช่องว่างหรือเติมข้อความตามความคิดเห็นหรือตรงตามความจริง
    ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
    1. เพศ หญิง ชาย
    2. อายุ……………..ปี ชั้น…………..ห้อง……………..
    ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติต่อรายวิชา การสื่อสารและการนำเสนอ
    รายการ
    มากที่สุด (5)
    มาก(4)
    ปานกลาง(3)
    น้อย(2)
    น้อยที่สุด(1)
    1.ครูมีบุคลิกการแต่งกายเหมาะสมของการเป็นครู
    2.ครูเข้าสอนตามกำหนดเวลาในแต่ละคาบเรียน
    3.ความเหมาะสมของเวลาในคาบเรียน
    4.ครูสามารถถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนได้เข้าใจ
    5.ความเป็นกันเอง ระหว่าง ครูกับ นักเรียน
    6.ครูเสริมกิจกรรมหลากหลายระหว่างเรียน เพื่อให้พักผ่อน บรรเทาสมอง
    7.เทคนิควิธีการสอนของครูทำให้นักเรียนเข้าใจหลักสูตรง่ายขึ้น
    8.ท่านคิดว่าสื่อการเรียนการสอนมีความทันสมัย
    9.ท่านคิดว่าบรรยากาศในห้องเรียน เหมาะสม กับการเรียน
    10.ท่านชอบการค้นคว้าข้อมูล
    11.ความเหมาะสมของเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอน
    12.ครูฝึกให้นักเรียนจดสรุปข้อมูลที่ได้จากการเรียนในคาบนั้นๆ
    13.ท่านคิดว่าท่านมีความสุขกับการเรียน
    14.ท่านคิดว่าท่านมีความกระตือรือร้นในการเข้าเรียนตรงตามเวลา
    15.ความสำคัญของหลักสูตรการเรียนการสอน
    16.ท่านคิดว่าสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
    17.ท่านคิดว่ารายวิชา IS2 มีความสำคัญ
    18.ท่านชอบในการแสดงออกหน้าชั้นเรียน
    19.ท่านคิดว่ารูปแบบการเรียนการสอนทำให้ท่านมีความคิดอย่างเป็นกระบวนการ
    20.ท่านเห็นด้วยกับการจัดการเรียนการสอน
    ข้อเสนอแนะ…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

    • ครูไม่แน่ใจว่า กลุ่มของหนูต้องการเน้นว่าการจัดการเรียนการสอนวิชานี้ การมีสื่อการสอนเป็นเรื่องสำคัญในการเรียนวิชานี้และมีส่วนสำคัญต่อความรู้ความเข้าใจ ใช่หรือไม่

  11. แบบสอบถาม
    เรื่อง สำรวจทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    ของโรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม วัตถุประสงค์ : แบบสอบถามนี้ใช้เพื่อสำรวจทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1และใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (IS2) คำชี้แจง ให้เขียนเครื่องหมาย / ลงในช่องว่างหรือเติมข้อความตามคิดเห็นหรือตรงตามความเป็นจริง ตอนที่ 1 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
    • เพศ ชาย หญิง
    • อายุ_____ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่_______ ห้อง_____
    ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    ระดับความพึงพอใจ
    รายการ มากที่สุด
    (5) มาก
    (4) ปานกลาง
    (3) น้อย
    (2) น้อยที่สุด
    (1)
    1.ภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่ควรศึกษา
    2.ภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่เรียนแล้วเข้าใจง่าย
    3.ท่านสามารถนำความรู้ทางภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวัน
    4.ท่านสามารถพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้
    5.ท่านสามารถฟังภาษาอังกฤษแล้วเข้าใจง่าย
    6.ท่านสามารถเรียงความภาษาอังกฤษได้ด้วยตนเอง
    7.ทัศนคติของท่านที่มีต่อภาษาอังกฤษ
    8.ท่านเคยสนทนากับครูต่างชาติด้วยภาษาอังกฤษ
    9.ท่านเคยดูภาพยนตร์ที่มีเสียงSound Trackจนจบเรื่อง
    10.ท่านคิดว่าในอนาคตท่านสามารถสนทนาภาษา อังกฤษกับประชากรอาเซียนได้
    ข้อเสนอแนะ ……………………………………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………………………………………………………………..

  12. อ.กอบแก้วคะ คือหนูอยากให้อาจารย์นำตัวอย่างการเขียนบทที่2และบทต่อๆไปมาให้ดูเป็นตัวอย่าง หรือเป็นโครงร่างในการเขียนก็ได้นะคะ คือหนูยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนบทที่2เท่าไหร่ค่ะ

    • บทที่ 2 ไม่ใช่เรื่องยาก เหมือนการทำรายงานตอนอยู่ม. 1 เลย ลองนึกถึงวิชาห้องสมุดดูซิค่ะ เพียงแต่นำหัวข้อสารบัญมาวางไว้ใน บทที่ 2 แต่ไม่มีเลขหน้านะ เนื้อเรื่องก็นำเรื่องเด่นของชื่อเรื่องที่หนูทำนั่นแหละมาทำในบทนี้

    • ครูเพิ่มเติม บทที่3 หน้าปก บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศและประวัติผู้เขียนให้นักเรียนไปเพิ่มเติมด้วยตนเองแล้วนะคะ บทอื่นๆ จะทยอยออกมา แต่บทคัดย่อจะทำได้ต้องทำทุกบทให้แล้วเสร็จก่อนนะคะ ให้นำเครื่องมือเตรียมแจกให้กลุ่มตัวอย่างภายในสัปดาห์นี้ได้ก่อน

  13. สวัสดีค่ะอาจารย์หนูชื่อเด็กหญิงจุฑาทิพย์ แป้นกลาง ม.2/1 หัวหน้ากลุ่มที่ 12 อาจารย์ช่วยดูความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาของกลุ่มหนูด้วยนะค่ะที่อาจารย์ให้หนูไปแก้ ชื่อเรื่องว่าการสำรวจความพึงพอใจในการใช้อาคาร 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม
    บทที่ 1
    บทนำ
    ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา
    โรงเรียน คือ สถานศึกษาที่ประกอบไปด้วย อาคารเรียน สื่อการเรียนการสอน ครูและบุคลากรทางการศึกษาและสิ่งสำคัญที่สุดคือ ผู้ที่ศึกษาเล่าเรียน องค์ประกอบต่างๆเหล่านี้เรียกว่าโรงเรียน
    การจัดการศึกษานั้นผู้สอนจะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้อย่างครบถ้วนทุกด้าน แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายประการ โดยเฉพาะส่วนที่เชื่อว่ามีความสำคัญ คือสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ซึ่งเป็นไปตามหลักการทางด้านจิตวิทยาที่มุ่งศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคล การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ เช่น การอบรมเลี้ยงดู การคบเพื่อน การสังคมหรือสมาคมกับผู้อื่น การศึกษาประเพณี วัฒนธรรม สภาพทางภูมิศาสตร์ ที่อยู่อาศัยต่างก็จัดว่าเป็นสภาพแวดล้อมทั้งสิ้น อาคารสถานที่ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนการสอนของอาจารย์และผู้เรียน
    ซึ่งจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะสถานศึกษาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ทั้งหลาย นอกจากนั้นยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของแต่ละคนโดยสภาพที่เป็นจริง สภาพแวดล้อมดังกล่าวไม่ค่อยได้รับการเอาใจใส่ส่วนใหญ่จะมองข้ามไป จนเกิดปัญหาด้านพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ทั้งของอาจารย์และผู้เรียนขึ้น เมื่อถึงเวลาก็อาจจะสายเกินแก้หรือเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้หรือแก้ไขยาก ดังนั้นอาจารย์และผู้บริหารควรตระหนักถึงอิทธิพลของสภาพแวดล้อม ทำความเข้าใจและปรับปรุงให้ประสานสัมพันธ์ และสอดคล้องกับสภาพต่างๆ ก็ช่วยลดปัญหาต่างๆ ได้ ด้านการเรียนการสอนนั้น จะมีลักษณะที่สำคัญ เช่น พฤติกรรมของอาจารย์ วิธีการสอน โดยการใช้สื่ออุปกรณ์ ตลอดจนสร้างทัศนคติมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้เรียน สิ่งเหล่านี้ก็จะมีอิทธิพลต่อการส่งเสริมให้เด็กได้รับรู้และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และใช้เป็นแบบอย่าง ในการดำเนินชีวิตต่อไป พฤติกรรมของเพื่อนในด้านต่างๆ เช่น ความสนใจในการศึกษาหาความรู้
    การทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นการทำการบ้านอย่างสม่ำเสมอ การแต่งกายที่สะอาดเรียบร้อย รักสงบไม่ทะเลาะวิวาท เคารพนับถือครู อาจารย์และการตั้งใจเรียน เข้าห้องเรียนสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ถ้ามีพฤติกรรมที่ไม่ดีก็มีผลต่อการเรียนรู้ของเพื่อนร่วมชั้นด้วยและการบริหารทั้งวิชาการและด้านธุรการ การจัดกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางการเรียนนั้น จัดได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของคุณภาพการศึกษา จรวยพร ธรณินทร์ (2539: 19 – 20) เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาไว้ว่า องค์ประกอบใหญ่ๆ ของคุณภาพการศึกษาแบ่งออกเป็น
    4 ด้าน 1) คุณภาพของระบบการบริหารจัดการของโรงเรียน 2) คุณภาพของการบริการและการดำเนินงานจัดการศึกษา 3) คุณภาพการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือผู้รับบริการ 4) คุณภาพของผู้เรียนและความพึงพอใจของผู้รับบริการ
    โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 10 ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ริมถนน พหลโยธิน (ระยะห่างจากถนนใหญ่ประมาณ 1 กิโลเมตร) สถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียงคือสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (A.I.T.) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 4 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคมเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย มีนักเรียนทั้งหมด 4,211 คน จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมด 147 คน แบ่งเป็นผู้บริหาร 5 คน ครูประจำการ 116 คน ครูอัตราจ้าง 26 คน มีห้องเรียนทั้งหมด 92 ห้องเรียน แบ่งเป็นห้องเรียนปกติ 80 ห้อง ห้องเรียนพิเศษ 12 ห้อง และมีอาคารเรียนทั้งหมด 9 อาคารเรียน
    อาคารต่างๆมีลักษณะเป็นอาคารปูนและอาคารไม้จำนวน 9 หลัง ซึ่งแต่ละหลังมีสภาพทั้งใหม่และเก่า อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคาร 3 เป็นอาคารเก่ามีลักษณะโครงสร้างเหมือนกันคือ เป็นอาคารที่สร้างด้วยปูนและไม้สร้างมาไม่ต่ำกว่า 20 ปีขึ้นไป
    อาคาร 2 เป็นอาคารหลังหนึ่งที่มีห้องเรียนทั้งหมดประมาณ 15 ห้องเรียนซึ่งภายในห้องแต่ละห้องมีสภาพที่เก่า โต๊ะเก้าอี้และผนังห้องมีรอยขีดเขียนเป็นจำนวนมากจำนวนเก้าอี้ภายในห้องก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียนทำให้ต้องไปหาโต๊ะเก้าอี้จากห้องเรียนอื่นโต๊ะเก้าอี้จัดไม่เป็นระเบียบไม่เป็นแถว พื้นของห้องเรียนก็ไม่ได้ปูพื้นด้วยกระเบื้องแต่เป็นการฉาบปูนธรรมดาทำให้การทำความสะอาดได้ไม่ดีเท่าที่ควร ถังขยะและไม้กวาดก็มีเป็นบางห้องตามห้องแต่ละห้องก็มีขยะเต็มไปหมด แปรงลบกระดานก็ไม่มี พัดลมที่มีก็ไม่สามารถใช้ได้ทุกตัว ประตู หน้าต่างชำรุดจำนวนหลายบาน บริเวณหน้าห้องเรียนบอร์ดประชาสัมพันธ์ก็ชำรุดเสียหายลำโพงในบางห้องก็ใช้การไม่ได้ รอบๆของอาคาร 2 มีเศษขยะและรอยเปื้อนของผนังอาคารและด้านหลังของอาคารมีน้ำเน่าเสีย
    ด้วยเหตุนี้ผู้ศึกษาจึงสำรวจความพึงพอใจในการใช้อาคาร 2 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม เพื่อใช้เป็นแบบอย่างในการปรับปรุงแก้ไขอาคารเรียน ทั้งสภาพแวดล้อมภายในห้องทั้งโต๊ะเก้าอี้ ผนังห้อง พื้นห้องและสิ่งต่างๆและ บรรยากาศรอบๆอาคารเรียนซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกษศิรินทร์ หนูแสง(2554)

  14. อาจาร์ยค่ะคือหนูหาแบบสอบถามที่อาจาร์แก้ให้ไม่เจอค่ะ
    อาจาร์ยค่ะ ช่วยดูหัวข้อของแบบสอบถาม ประมาณนี้ได้ไหมค่ะ
    เรื่อง การศึกษาสภาพแว้ดล้อมของโรงอาหาร ที่ส่งผลกระทบต่อนักเรียนโรงรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม
    หัวข้อที่จะถาม
    1.มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
    2. มีลมพัดผ่าน
    3.มีแสงสว่างที่เพียงพอต่อการรับประทานอาหาร
    4. มีการจัดวางโต๊ะรับประทานอาหารที่เป็นระเบียบ
    5. การเข้าแถวซื้ออาหารที่เป็นระเบียบ
    6. การมีระเบียบในการเข้าแถวเก็บภาชนะ
    7. ความสะอาดของภาชนะในการรับประทานอาหาร
    8. ความสะอาดของอาคารและ สถานที่ที่รับประทานอาหาร
    9. ความสะอาดของร้านค้า
    10.ความสะอาดในการปรุงอาหาร
    แล้วต้องเพิ่มอะไรอีกไหมค่ะ

  15. สวัสดีค่ะอาจารย์
    คือหนูอยากให้อาจารย์ช่วยดูความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาหน่อยค่ะว่าใช้ได้หรือไม่
    เรื่องการพูดคำหยาบและภาษาวิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
    ภาษาไทยเป็นทั้งวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และความภูมิใจของคนไทย ซึ่งควรจะได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป แต่ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้อง พูดภาษาไทยในแบบผิดๆ และจะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่ใช้ภาษาอย่างไม่ระมัดระวัง และอาจจะใช้คำหยาบในการสนทนากัน
    คำหยาบ ในสายตาหลายๆคน อาจมองว่าเป็นเรื่องที่ได้ยินกันจนชินหูและจนทำให้เป็นคำที่ติดปาก ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนส่วนใหญ่จะใช้คำหยาบกับเพื่อนในการสนทนา ปกติจะใช้คำหยาบในรูปของการแทนตัวบุคคลกับเพื่อนฝูง เช่น กู ที่แทนถึงตัวเอง และ มึง ที่แทนตัวผู้ที่สนทนาด้วย ซึ่งเป็นวิธีการใช้ปกติทั่วไปอันเป็นแสดงให้เห็นถึงความสนิทสนมแน่นแฟ้นกันมากกว่าการที่คุยกับเพื่อนฝูงด้วยภาษาสุภาพธรรมดา และไม่แปลกที่จะใช้คำหยาบในการสนทนากันคำพูดบางคำที่พูดออกไปโดยไม่ได้คิดอะไรมาก แต่มันอาจจะไปกระทบกระเทือนจิตใจของเพื่อน เนื่องจากแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่างกัน ในเมื่อรู้ว่าคำหยาบเป็นสิ่งที่ไม่ดีพูดไปแล้วทำร้ายทั้งตัวเองและจิตใจของเพื่อน และการพูดคำหยาบอาจส่งผลต่อภาพพจน์ของตนเองและคนรอบข้าง ดังนั้นควรที่จะระมัดระวังในการพูด คิดก่อนพูด จะได้ไม่ไปทำร้ายจิตใจใคร
    จากการศึกษา ผู้รายงานได้พบเห็นว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม มีการใช้คำหยาบในการสนทนากันอย่างมาก จนกลายเป็นเรื่องปกติและทำให้เป็นคำที่ติดปาก ซึ่งไม่เหมาะกับการที่จะใช้คำหยาบในโรงเรียน ผู้รายงานจึงอยากทราบสาเหตุที่นักเรียนใช้คำหยาบ และศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้คำหยาบโดยสุ่มเลือกจากกลุ่มตัวอย่างของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่1 มาใช้ในการศึกษา เพื่อนักเรียนจะพูดคำสุภาพมากขึ้น

ส่งความเห็นที่ ด.ช. จตุพล สุพงศ์ ยกเลิกการตอบ